2562-10-19

ระบบการจัดการและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ  

AS/RS    คือ  

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS
- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS
         องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)
อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)
การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ

6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น

ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

ประโยชน์ที่จะได้รับลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า





2562-10-05

รถเอทีวี  กับ  สายพานลำเรียง

เอทีวี (ATV ย่อจาก All-Terrain Vehicle) หรือ ควอดไบค์ (quad-bike หรือย่อว่า ควอด) เป็รถที่มีเครื่องมอเตอร์ไซค์ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก และมีสี่ล้อสำหรับใช้ในทางวิบาก อย่างไรก็ตามทางแอนซี ได้นิยามว่า "เอทีวี" คือชื่อสำหรับยานยนต์ที่มีลักษณะสำหรับการขับขี่ที่มีแรงกดดันต่ำที่ยาง,และที่นั่งก็เป็นลักษะที่ต้องถ่างขาหรือขึ้นคร่อมเวลาใช้งานโดยผู้ขับขี่ และมือทั้งสองข้างก็บังคับโดยจับที่แฮนด์ควบคุมขับขี่โดยมีคนบังคับคนเดียว ถึงแม้ว่าจะมีการประยุกต์ให้มีที่นั่งเพิ่มขึ้นมาอีกสองที่นั่ง (ตามแนวยาว) การประยุกต์ในการใช้งานแบบใหม่นี้ ก็ยังอยู่ในการพิจารณาอยู่
รถเอทีวี ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ครั้งแรก ราวปี 1960 เป็นผลงานของ John Gower ผู้ก่อตั้งบริษัท JGR Gunsport จากกรุงโตรอนโต ประเทศแคนาดา และ Fred Rohrer วิศวกรชาวสวิสเซอร์แลนด์ ในตอนแรกรถเอทีวี มีลักษณะเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบก 6 ล้อ มีชื่อเรียกว่า The Jiger จากนั้นในปี 1965 เริ่มมีการผลิตออกมาจำหน่ายมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะการทหารและกีฬา แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี The Jiger ต้องปิดฉากลงหลังจากบริษัทมีปัญหาทางด้านการเงิน ในปี 1968 The Jiger ถูกผลิตออกมาได้เพียง 3 Model ทั้งหมดราว 3,337 คัน
รถเอทีวี 3 ล้อคันแรกของโลก มีชื่อว่า "The Sperry-Rand Tricart" มันถูกออกแบบขึ้นปี 1967 โดย John Plessinger ที่จริงแล้วมันคือโปรเจ็คระหว่างเรียนที่ the Cranbrook Academy of Art และมันถูกผลิตออกสู่ตลาดในปี 1968 โดยนาย John Plessinger ได้ ขายลิขสิทธิ์ให้แก่ New Holland บริษัทผลิตรถแทรกเตอร์ แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น Honda บริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่แย่งซีนไป ด้วยการมาของรถเอทีวี รุ่น US90 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ATC90 ในปี 1970
ATV เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น จากภาพยนตร์ชุด บอนด์เดอะซีรีส์เรื่อง Diamonds Are Forever (007 เพชรพยัคฆราช) จากฉากที่ James Bond แสดงโดย ฌอน คอนเนอรี ขี่เจ้า ATV 3 ล้อสัญชาติญี่ปุ่น รุ่น US90 หรือ ATC90 ของ หนีการไล่ล่าจากผู้ร้าย และมีให้เห็นผ่านตาจากซีรีย์โทรทัศน์อีกหลายเรื่อง เช่น Magnum, P.I. , Hart to Hart จากนั้นตลาดรถเอทีวี 3 ล้อ ก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาประสิทธิภาพของรถให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อตลาดเปิด คู่แข่งขันก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย บริษัทยานยนต์ญี่ปุ่นเจ้าอื่นก็โดดเข้ามาร่วมแจมด้วย ไม่ว่าจะเป็น Kawasaki , Yamaha
จุดเริ่มต้นของรถเอทีวี 4 ล้อ กลับเป็น Suzuki ที่ชิงเปิดตัว "QuadRunner LT125" เอทีวี 4 ล้อคันแรกของโลก สู่สายตาสาธารณชน ในปี 1982 หลังจากนั้นตลาดรถเอทีวี 4 ล้อ ก็เปิดฉากฟาดฟันกันอย่างดุเดือด พัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ออกแบบรถให้ล้ำนำสมัย เพื่อแย่งชิงเป็นผู้นำตลาด และก็เป็น Honda ที่ทำสำเร็จ ครองตลาดเอทีวีสูงถึง 69% ในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1984 ถึง 1987 ส่วนรถเอทีวีสัญชาติอเมริกันคันแรกคือ "the Trailboss" จากค่าย Polaris เข้าสู่ตลาดในปี 1985 ในยุคหลังเริ่มมีการนำรถเอทีวีมาใช้ในงานไร่มากขึ้น
เมื่อรถเอทีวีเป็นที่นิยมในหมู่มาก จึงมีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการรายการแรก คือ The Grand National Cross Country จัดขึ้นในปี 1980 และ ATV National Motocross Championship series ในปี 1985 จนถึงปัจจุบัน

ระบบสายพานลำเลียง BELT CONVEYOR SYSTEM เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor)
 คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System)ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน

ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

1. การเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักร เป็นระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือในการขนย้ายหลายชนิดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องจักรแบบธรรมดาที่ไม่ได้มีกลไกซับซ้อนมากนัก เครื่องมือขนย้ายที่มีการใช้กันมากในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัสดุ ได้แก่ 

* รถยก (Forklift Truck)  เป็นเครื่องมือที่สามารถยกของและย้ายของนำไปกองได้ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง รถยกนี้มีหลายแบบและหลายขนาด แต่โดยทั่วไปจะมี 4 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า บังคับเลี้ยวด้วยล้อหลัง ยกของด้วยส้อมที่ติดอยู่ด้านหน้า และยกของขึ้นด้วยระบบไฮดรอลิก สามารถยกของได้สูงประมาณ 20 ฟุต รถยกนี้เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุระยะทางใกล้ ๆ เช่น ภายในโรงงานและต้องใช้แรงงานคนประกอบในการจัดเก็บของที่ขนย้ายด้วย ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายที่มีระยะทางไกล และไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มิใช่เป็นสิ่งของที่มีรูปทรงมาตรฐาน หรือวัสดุที่ไม่มีการบรรจุภัณฑ์เพื่อการเคลื่อนย้าย 

 ปั้นจั่น (Crane) เป็นเครื่องจักรที่มีกำลังในตัวเอง ใช้ทำการยกสิ่งของได้ในพื้นที่จำกัดซึ่งเครื่องมือหรือเครื่องจักรประเภทอื่นเข้าไม่ถึง ปั้นจั่นมี 2 ชนิดคือ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้และชนิดคานยกหมุนได้ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้โดยปกติจะติดตั้งอยู่บนรถแทรกเตอร์ โดยมีคานยกยื่นออกมาเหนือล้อหน้า คานยกสามารถหันเหได้โดยการหมุนตัวของรถแทรกเตอร์ ส่วนปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนได้จะติดตั้งอยู่บนรถ เรียกว่า รถปั้นจั่น ซึ่งคานยกที่ติดตั้งอยู่สามารถหมุนได้โดยที่ตัวรถไม่ได้หมุน 
  


  รถ AGV ที่ใช้งานกัน อยู่ในปัจจุบันมี หลายชนิดด้วยกันคือ
 1. AGV Driver Train: รถ AGV ชนิดนี้จะประกอบด้วยรถลาก (ซึ่งเป็น AGV) ที่ใช้ ลากขบวนของรถ
พ่วง รถ AGV ชนิดนี้เป็นรถ AGV ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นมา และปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมอยู่ รถ AGVประเภทนี้เหมาะสมที่จะใช้กับโหลดที่มีน้ำหนักมากที่จะต้องขนย้ายเป็นระยะทางไกล ๆ ในคลังสินค้าหรือในโรงงาน และในระหว่างเส้นทางการขนส่ง อาจจะต้องมีการโหลดชิ้นงานเข้าหรือออกจากรถ AGV ก็ได้




2. AGV Pallet Truck: รถ AGV ประเภทนี้จะใช้ขนส่งโหลดที่วางอยู่บนพาเล็ตไปบน เส้นทางการขนส่งที่กำหนดให้การทำงานแบบนี้เดิมทีคนงานจะทำหน้าที่ โหลดพาเล็ตขึ้นมาไว้บนรถด้วยซ่อม (Fork)แล้วขับรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ในการใช้งานรถ AGV ประเภทนี้ผู้ควบคุมเพียงแค่ขับรถAGV ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นทางเดินรถ จากนั้นทำการโปรแกรมจุดหมาย แล้วปล่อยให้รถ AGVเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งรถ AGV ชนิดนี้ปัจจุบันคือรถForklift AGV นั่นเอง





ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)







   ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System





ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ใช้ร่วมกับเครื่องจักรเย็บกระสอบเหมาะสำหรับโรงงานกลุ่มโรงสี,โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ,อุตสาหกรรมแป้งมันเป็นต้น
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

หุ่นยนต์ 

หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน

       ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง "หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน" และโปรดเกล้าฯ ให้ อาจารย์สนั่น  สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) อาจารย์สวัสดิ์  หงส์พร้อมญาติ และคณาจารย์ ของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้าง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่ง ให้นำไปจัดแสดงในงานกาชาด ที่สถานเสาวภา หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่มีรูปร่างคล้ายคน ขนาดเท่าคนจริง และแต่งกายแบบหมอ สามารถเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง และโต้ตอบได้ อีกทั้งทำงานหลายอย่างได้เป็นอย่างดี




   โดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพลศาสตร์ ของหุ่นยนต์เดิน ๒ ขาที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ โดยเน้นในเรื่องกลไกการเดินและการทรงตัวของหุ่นยนต์ การลดแรงกระแทกจากการก้าวเดิน และการออกแบบระบบตรวจวัดและระบบควบคุมเสถียรภาพ รวมทั้งการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพของหุ่นยนต์ ในการนำทางและคำนวณตำแหน่ง ของหุ่นยนต์ งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำขาเทียมเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ
หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำไทยเอ็กซ์โพล (Thai-XPole)
โดยสำนักงานเครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นงานวิจัย และพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ เพื่อช่วยในการสำรวจและเก็บข้อมูลการร่วมสำรวจบริเวณขั้วโลกใต้ของนักวิทยาศาสตร์ไทย
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมจัดเก็บหางเหล็ก (Crop Collector system)
โดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับบริษัทเหล็กสยามยามาโตะจำกัด เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบและจัดสร้างหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอัตโนมัติขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในสายการผลิตเหล็กรูปพรรณ โดยพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเก็บหางเหล็กที่มีน้ำหนักมากและมีความร้อนสูง แล้วนำไปทิ้งภายในเวลาที่กำหนด ในการจัดสร้างหุ่นยนต์ดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรของบริษัทสามารถผลิตเหล็กได้อย่างเต็มกำลัง และเพิ่มผลผลิตให้แก่บริษัท ได้ตามต้องการ
หุ่นยนต์โคบอตสามมิติ (3D Cobot)
โดยห้องปฏิบัติการสหวิทยาการมนุษย์และหุ่นยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์โคบอตแบบแขนกล ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ ๓ องศาอิสระ ที่มีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้นตามแนวแกน X, Y และ  
ชุดสวมแขนและขา (Arm and Leg ExoskeletonX) 


เครื่องจักร NC,CNC,DNC



เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.


ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.

ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.

       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)

คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น














เครื่อง CNC=Computer Numerical Control 
เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม

        เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้








ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง – ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจนสามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่นสาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการมากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546








       ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ ุุ60,000 บาทต่อเครื่อง

ระบบการจัดการและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ    AS/RS    คือ   ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ   (Automated Storage/Retrieval Syst...