2562-10-05

หุ่นยนต์ 

หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน

       ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง "หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน" และโปรดเกล้าฯ ให้ อาจารย์สนั่น  สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) อาจารย์สวัสดิ์  หงส์พร้อมญาติ และคณาจารย์ ของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้าง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่ง ให้นำไปจัดแสดงในงานกาชาด ที่สถานเสาวภา หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่มีรูปร่างคล้ายคน ขนาดเท่าคนจริง และแต่งกายแบบหมอ สามารถเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง และโต้ตอบได้ อีกทั้งทำงานหลายอย่างได้เป็นอย่างดี




   โดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพลศาสตร์ ของหุ่นยนต์เดิน ๒ ขาที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ โดยเน้นในเรื่องกลไกการเดินและการทรงตัวของหุ่นยนต์ การลดแรงกระแทกจากการก้าวเดิน และการออกแบบระบบตรวจวัดและระบบควบคุมเสถียรภาพ รวมทั้งการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลภาพของหุ่นยนต์ ในการนำทางและคำนวณตำแหน่ง ของหุ่นยนต์ งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำขาเทียมเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ
หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำไทยเอ็กซ์โพล (Thai-XPole)
โดยสำนักงานเครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นงานวิจัย และพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ เพื่อช่วยในการสำรวจและเก็บข้อมูลการร่วมสำรวจบริเวณขั้วโลกใต้ของนักวิทยาศาสตร์ไทย
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมจัดเก็บหางเหล็ก (Crop Collector system)
โดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับบริษัทเหล็กสยามยามาโตะจำกัด เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบและจัดสร้างหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอัตโนมัติขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในสายการผลิตเหล็กรูปพรรณ โดยพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเก็บหางเหล็กที่มีน้ำหนักมากและมีความร้อนสูง แล้วนำไปทิ้งภายในเวลาที่กำหนด ในการจัดสร้างหุ่นยนต์ดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรของบริษัทสามารถผลิตเหล็กได้อย่างเต็มกำลัง และเพิ่มผลผลิตให้แก่บริษัท ได้ตามต้องการ
หุ่นยนต์โคบอตสามมิติ (3D Cobot)
โดยห้องปฏิบัติการสหวิทยาการมนุษย์และหุ่นยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์โคบอตแบบแขนกล ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ ๓ องศาอิสระ ที่มีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้นตามแนวแกน X, Y และ  
ชุดสวมแขนและขา (Arm and Leg ExoskeletonX) 


1 ความคิดเห็น:

ระบบการจัดการและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ    AS/RS    คือ   ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ   (Automated Storage/Retrieval Syst...