2562-10-05

รถเอทีวี  กับ  สายพานลำเรียง

เอทีวี (ATV ย่อจาก All-Terrain Vehicle) หรือ ควอดไบค์ (quad-bike หรือย่อว่า ควอด) เป็รถที่มีเครื่องมอเตอร์ไซค์ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก และมีสี่ล้อสำหรับใช้ในทางวิบาก อย่างไรก็ตามทางแอนซี ได้นิยามว่า "เอทีวี" คือชื่อสำหรับยานยนต์ที่มีลักษณะสำหรับการขับขี่ที่มีแรงกดดันต่ำที่ยาง,และที่นั่งก็เป็นลักษะที่ต้องถ่างขาหรือขึ้นคร่อมเวลาใช้งานโดยผู้ขับขี่ และมือทั้งสองข้างก็บังคับโดยจับที่แฮนด์ควบคุมขับขี่โดยมีคนบังคับคนเดียว ถึงแม้ว่าจะมีการประยุกต์ให้มีที่นั่งเพิ่มขึ้นมาอีกสองที่นั่ง (ตามแนวยาว) การประยุกต์ในการใช้งานแบบใหม่นี้ ก็ยังอยู่ในการพิจารณาอยู่
รถเอทีวี ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ครั้งแรก ราวปี 1960 เป็นผลงานของ John Gower ผู้ก่อตั้งบริษัท JGR Gunsport จากกรุงโตรอนโต ประเทศแคนาดา และ Fred Rohrer วิศวกรชาวสวิสเซอร์แลนด์ ในตอนแรกรถเอทีวี มีลักษณะเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบก 6 ล้อ มีชื่อเรียกว่า The Jiger จากนั้นในปี 1965 เริ่มมีการผลิตออกมาจำหน่ายมากขึ้นเนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะการทหารและกีฬา แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี The Jiger ต้องปิดฉากลงหลังจากบริษัทมีปัญหาทางด้านการเงิน ในปี 1968 The Jiger ถูกผลิตออกมาได้เพียง 3 Model ทั้งหมดราว 3,337 คัน
รถเอทีวี 3 ล้อคันแรกของโลก มีชื่อว่า "The Sperry-Rand Tricart" มันถูกออกแบบขึ้นปี 1967 โดย John Plessinger ที่จริงแล้วมันคือโปรเจ็คระหว่างเรียนที่ the Cranbrook Academy of Art และมันถูกผลิตออกสู่ตลาดในปี 1968 โดยนาย John Plessinger ได้ ขายลิขสิทธิ์ให้แก่ New Holland บริษัทผลิตรถแทรกเตอร์ แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น Honda บริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่แย่งซีนไป ด้วยการมาของรถเอทีวี รุ่น US90 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ATC90 ในปี 1970
ATV เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น จากภาพยนตร์ชุด บอนด์เดอะซีรีส์เรื่อง Diamonds Are Forever (007 เพชรพยัคฆราช) จากฉากที่ James Bond แสดงโดย ฌอน คอนเนอรี ขี่เจ้า ATV 3 ล้อสัญชาติญี่ปุ่น รุ่น US90 หรือ ATC90 ของ หนีการไล่ล่าจากผู้ร้าย และมีให้เห็นผ่านตาจากซีรีย์โทรทัศน์อีกหลายเรื่อง เช่น Magnum, P.I. , Hart to Hart จากนั้นตลาดรถเอทีวี 3 ล้อ ก็เริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาประสิทธิภาพของรถให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อตลาดเปิด คู่แข่งขันก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย บริษัทยานยนต์ญี่ปุ่นเจ้าอื่นก็โดดเข้ามาร่วมแจมด้วย ไม่ว่าจะเป็น Kawasaki , Yamaha
จุดเริ่มต้นของรถเอทีวี 4 ล้อ กลับเป็น Suzuki ที่ชิงเปิดตัว "QuadRunner LT125" เอทีวี 4 ล้อคันแรกของโลก สู่สายตาสาธารณชน ในปี 1982 หลังจากนั้นตลาดรถเอทีวี 4 ล้อ ก็เปิดฉากฟาดฟันกันอย่างดุเดือด พัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ออกแบบรถให้ล้ำนำสมัย เพื่อแย่งชิงเป็นผู้นำตลาด และก็เป็น Honda ที่ทำสำเร็จ ครองตลาดเอทีวีสูงถึง 69% ในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1984 ถึง 1987 ส่วนรถเอทีวีสัญชาติอเมริกันคันแรกคือ "the Trailboss" จากค่าย Polaris เข้าสู่ตลาดในปี 1985 ในยุคหลังเริ่มมีการนำรถเอทีวีมาใช้ในงานไร่มากขึ้น
เมื่อรถเอทีวีเป็นที่นิยมในหมู่มาก จึงมีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการรายการแรก คือ The Grand National Cross Country จัดขึ้นในปี 1980 และ ATV National Motocross Championship series ในปี 1985 จนถึงปัจจุบัน

ระบบสายพานลำเลียง BELT CONVEYOR SYSTEM เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor)
 คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System)ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน

ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

1. การเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักร เป็นระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือในการขนย้ายหลายชนิดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องจักรแบบธรรมดาที่ไม่ได้มีกลไกซับซ้อนมากนัก เครื่องมือขนย้ายที่มีการใช้กันมากในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัสดุ ได้แก่ 

* รถยก (Forklift Truck)  เป็นเครื่องมือที่สามารถยกของและย้ายของนำไปกองได้ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง รถยกนี้มีหลายแบบและหลายขนาด แต่โดยทั่วไปจะมี 4 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า บังคับเลี้ยวด้วยล้อหลัง ยกของด้วยส้อมที่ติดอยู่ด้านหน้า และยกของขึ้นด้วยระบบไฮดรอลิก สามารถยกของได้สูงประมาณ 20 ฟุต รถยกนี้เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุระยะทางใกล้ ๆ เช่น ภายในโรงงานและต้องใช้แรงงานคนประกอบในการจัดเก็บของที่ขนย้ายด้วย ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายที่มีระยะทางไกล และไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มิใช่เป็นสิ่งของที่มีรูปทรงมาตรฐาน หรือวัสดุที่ไม่มีการบรรจุภัณฑ์เพื่อการเคลื่อนย้าย 

 ปั้นจั่น (Crane) เป็นเครื่องจักรที่มีกำลังในตัวเอง ใช้ทำการยกสิ่งของได้ในพื้นที่จำกัดซึ่งเครื่องมือหรือเครื่องจักรประเภทอื่นเข้าไม่ถึง ปั้นจั่นมี 2 ชนิดคือ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้และชนิดคานยกหมุนได้ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้โดยปกติจะติดตั้งอยู่บนรถแทรกเตอร์ โดยมีคานยกยื่นออกมาเหนือล้อหน้า คานยกสามารถหันเหได้โดยการหมุนตัวของรถแทรกเตอร์ ส่วนปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนได้จะติดตั้งอยู่บนรถ เรียกว่า รถปั้นจั่น ซึ่งคานยกที่ติดตั้งอยู่สามารถหมุนได้โดยที่ตัวรถไม่ได้หมุน 
  


  รถ AGV ที่ใช้งานกัน อยู่ในปัจจุบันมี หลายชนิดด้วยกันคือ
 1. AGV Driver Train: รถ AGV ชนิดนี้จะประกอบด้วยรถลาก (ซึ่งเป็น AGV) ที่ใช้ ลากขบวนของรถ
พ่วง รถ AGV ชนิดนี้เป็นรถ AGV ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นมา และปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมอยู่ รถ AGVประเภทนี้เหมาะสมที่จะใช้กับโหลดที่มีน้ำหนักมากที่จะต้องขนย้ายเป็นระยะทางไกล ๆ ในคลังสินค้าหรือในโรงงาน และในระหว่างเส้นทางการขนส่ง อาจจะต้องมีการโหลดชิ้นงานเข้าหรือออกจากรถ AGV ก็ได้




2. AGV Pallet Truck: รถ AGV ประเภทนี้จะใช้ขนส่งโหลดที่วางอยู่บนพาเล็ตไปบน เส้นทางการขนส่งที่กำหนดให้การทำงานแบบนี้เดิมทีคนงานจะทำหน้าที่ โหลดพาเล็ตขึ้นมาไว้บนรถด้วยซ่อม (Fork)แล้วขับรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ในการใช้งานรถ AGV ประเภทนี้ผู้ควบคุมเพียงแค่ขับรถAGV ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นทางเดินรถ จากนั้นทำการโปรแกรมจุดหมาย แล้วปล่อยให้รถ AGVเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งรถ AGV ชนิดนี้ปัจจุบันคือรถForklift AGV นั่นเอง





ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)







   ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System





ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่ใช้ร่วมกับเครื่องจักรเย็บกระสอบเหมาะสำหรับโรงงานกลุ่มโรงสี,โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ,อุตสาหกรรมแป้งมันเป็นต้น
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

1 ความคิดเห็น:

ระบบการจัดการและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ    AS/RS    คือ   ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ   (Automated Storage/Retrieval Syst...